วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทวิเคราะห์


การตั้งถิ่นฐานของคนไทย
ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ในทุกๆด้าน อาทิ ดิน น้ำ ป่าไม้ และยังมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิต จากปัจัยดังกล่าว จึงส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐานของคนไทยที่จะตั้งถิ่นฐานตามพื้นที่ ที่สามารถนำเอาทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์คนไทยจึงนิยมที่จะตั้งถิ่นฐานตามที่ราบริมฝั่ง
แม่น้ำที่สำคัญๆไหลผ่าน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการเพาะปลูก การทำประมง รวมไปถึงการคมนาคมขนส่งต่างๆ นอกจากนั้นการที่คนไทยนิยมตั้งถิ่นฐานตามที่ราบริมฝั่งแม่น้ำจึงส่งผลให้เกิดวิถีชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีต่างๆที่สัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่ เช่น ลอยกระทง
ไหลเรือไฟ เป็นต้น
ในปัจจุบันการตั้งถิ่นฐานของคนไทยได้เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาในด้านของระบบอุตสาหกรรม มีการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นอย่างมากมายจึงก่อให้เกิดอาชีพใหม่ขึ้นมาเพื่อนำมนุษย์เข้าสู่กิจกรรมการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่ให้ค่าตอบ
แทนที่สูงและยังมีลักษณะงานที่ลำบากน้อยกว่าการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่เคยทำมาจึงส่งผลให้คนไทยในชนบทพากันอพยพเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ ระบบการตั้งถิ่นฐานของคนไทยจึงเปลี่ยนไปจากอดีตที่เคยอาศัยอยู่
ตามที่ราบในชนบทเปล่ยนมาเป็นการนิยมตั้งถิ่นฐานในเขตอุตสาหกรรมต่างๆอันเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ น้ำเสีย มลภาวะต่างๆ ปัญหาสังคม อาทิ ชุมชนแออัด ยาเสพติด อาชญากรรม เป็นต้น
เมื่อความก้าวหน้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ระบบอุตสาหกรรมต่างๆจึงต้องการวัตถุดิบเพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์หมดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียสมดุลและเกิดปัญหาต่างๆตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นดินถล่ม แผ่นดินไหว ปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ ปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่สร้างความเสียหายแก่มนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายและจิตใจ
อันรวมไปถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ด้วยเพราะเมื่อสิ่งดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วก็จะเกิดความเสียหายให้กับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ด้วย จึงจำเป็นที่หน่วยงานของรัฐจะต้องมามีบทบาทในการให้คามช่วยเหลือประชาชนเหล่านั้น ดังจะเห็นได้จากการที่ทหารซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่งได้เข้ามามีส่วนในการสร้างที่พักอาศัยให้แก่ผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ หรือในกรณีโคลนถล่มที่ อ.หล่มสัก นอกจากนั้นทหารยังมีหน้าที่ในการพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อนำความเจริญมาสู่ชุมชนไทยในพื้นที่ ที่ห่าง
ไกล เช่น การสร้างศูนย์ราชการต่างๆ การสร้างถนนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น